ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ
1.1 เสริมสร้างจิตสำนึกของพลเมือง ความรักสถาบันชาติ และยึดมั่นการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
1.2 ส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาของประชาชนในพื้นที่สูง
1.3 ส่งเสริมการจัดการศึกษา การดูแลและป้องกันจากภัยคุกคามในรูปแบบใหม่
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
1. ผู้เรียนทุกช่วงวัยมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับการศึกษาการดูแลป้องกันจากภัยคุกคามชีวิตในรูปแบบใหม่
3. ผู้เรียนทุกช่วงวัยในพื้นที่สูงมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา
ตัวชี้วัด
1. ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่สะท้อนความรักและการธำรงรักษาสถาบันหลักของชาติและการยึดมั่นในการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเพิ่มขึ้น
2. ร้อยละของผู้เรียนในพื้นที่สูงมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา
3. ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนหรือจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความจำ ความรู้ความเข้าใจ การนำไปใช้ วิเคราะห์ ประเมินค่า สังเคราะห์ สร้างสรรค์ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับภัยคุกคามในรูปแบบใหม่*
*ภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ ได้แก่ ปัญหายาเสพติด การหนีข้ามประเทศ การก่อการร้ายการบุกรุกป่า อาชญากรรมปัญหาความรุนแรง ภัยไซเบอร์ โรคภัย ภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
2.1 ส่งเสริมสถานศึกษาให้มีการผลิตและพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะที่จำเป็นและมีสมรรถนะตรงตาม    ความต้องการของตลาดแรงงาน
2.2 ส่งเสริมให้สถานศึกษา วิจัย พัฒนา สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องในการสร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของจังหวัดลำปาง
2.3  ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและสร้างนวัตกรรมในสาขาวิชาชีพต่างๆ
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
1. ผู้เรียนค้นพบความถนัดและมีทัศนคติที่ดีในการประกอบอาชีพ 
2. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน 
3. หน่วยงานการศึกษามีงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมในการจัดการศึกษาที่เกี่ยวข้องในการสร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของจังหวัดลำปาง
ตัวชี้วัด
1. ร้อยละของสถานศึกษาที่มีการผลิตและพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะที่จำเป็นและมีสมรรถนะตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน
2. จำนวนงานวิจัย องค์ความรู้และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของจังหวัดลำปาง
3. จำนวนเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา เอกชน สถานประกอบการ และชุมชนในการจัดการศึกษาและสร้างนวัตกรรมในสาขาวิชาชีพต่างๆ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
3.1 ส่งเสริมให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยมีทักษะและคุณลักษณะพื้นฐานของพลเมืองไทย 
3.2 ส่งเสริมให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยมีทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
3.3 ส่งเสริมให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยมีทักษะความรู้ความสามารถและสมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษาและมาตรฐานวิชาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตามศักยภาพ
3.4 ส่งเสริมให้สถานศึกษาทุกระดับการศึกษาจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรอย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน
3.5 ส่งเสริมให้ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ทุกระดับและประเภทการศึกษาได้รับการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
1. ผู้เรียนทุกช่วงวัยมีทักษะและคุณลักษณะพื้นฐานของพลเมืองไทย 
2. ผู้เรียนทุกช่วงวัยมีมีทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21*
3. ผู้เรียนทุกช่วงวัยมีทักษะความรู้ความสามารถและสมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษาและมาตรฐานวิชาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตามศักยภาพ
4. สถานศึกษาทุกระดับการศึกษาจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรอย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน
5. ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ทุกระดับและทุกประเภทการศึกษามีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ
* ทักษะในศตวรรษที่ 21 คือ 
ทักษะ 3R คือ Reading-อ่านออก, (W) Riting-เขียนได้, (A) Rithmatics-คิดเลขเป็น    
8C คือ 1.Critical Thinking and Problem Solving : การคิดอย่างมีวิจารณญาณ แก้ไขปัญหาได้ 2.Creativity and Innovation : คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดเชิงนวัตกรรม 3.Cross-cultural Understanding : ความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม กระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม 4.Collaboration teamwork and leadership : ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ 5.Communications information and media literacy : ทักษะในการสื่อสาร และการรู้เท่าทันสื่อ 6.Computing and ICT literacy :ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และการรู้เท่าทันเทคโนโลยี 7.Career and learning skills : ทักษะทางอาชีพ และการเรียนรู้ และ 8.Compassion : มีคุณธรรม มีเมตตา กรุณา มีระเบียบวินัย
ตัวชี้วัด
1. ร้อยละของผู้เรียนทุกช่วงวัยมีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพิ่มขึ้น
2. ร้อยละของผู้เรียนทุกช่วงวัยมีคุณลักษณะตามค่านิยม 12 ประการ เพิ่มขึ้น
3. ร้อยละของผู้เรียนระดับปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัยเพิ่มขึ้น
4. ร้อยละของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความรู้ความสามารถ และสมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษา
5. ร้อยละของผู้เรียนระดับอาชีวศึกษาที่มีความรู้ความสามารถ และสมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษาและมาตรฐานวิชาชีพ
6. ร้อยละของผู้เรียนระดับอุดมศึกษาที่มีความรู้ความสามารถ และสมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษาและมาตรฐานวิชาชีพ
7. ร้อยละของวัยแรงงานและผู้สูงวัยที่ได้รับบริการทางการศึกษา พัฒนาทักษะอาชีพและทักษะชีวิตเพิ่มขึ้น
8. ร้อยละของสถานศึกษาที่สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ได้คุณภาพและมาตรฐานเพิ่มขึ้น
9 ร้อยละของแหล่งเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรม ที่ได้รับการพัฒนาให้สามารถให้บริการทางการศึกษา
10. สถานศึกษามีระบบ กลไก การวัดและติดตามประเมินผลความรู้ ทักษะ และสมรรถนะของผู้เรียนทุกระดับการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
11. ร้อยละครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ทุกระดับและประเภทการศึกษาได้รับการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐาน
12. ร้อยละของสถานศึกษาที่มีการจัดกิจกรรมในการปลูกฝังจิตสำนึกด้านวินัย

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา
4.1 ส่งเสริมให้ผู้เรียนทุกช่วงวัย ทุกประเภทได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง
4.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาสำหรับคน    ทุกช่วงวัย
4.3 ส่งเสริมให้สถานศึกษาเป็นศูนย์การเรียนรู้เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาสำหรับคนทุกช่วงวัย
4.4 ส่งเสริมการบูรณาการฐานข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาที่ครอบคลุม ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
1. ผู้เรียนทุกคนได้รับโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ
2. การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาสำหรับคนทุกช่วงวัย
3. จังหวัดลำปางมีระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศในการจัดการศึกษา
ตัวชี้วัด
1. ร้อยละของผู้เรียนในแต่ละช่วงวัยได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเหมาะสม
2. ร้อยละของเครือข่ายที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสำหรับคนทุกช่วงวัย
3. ร้อยละของสถานศึกษาที่ได้รับบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงครอบคลุมทุกพื้นที่
4. หน่วยงานการศึกษามีระบบสารสนเทศทางการศึกษาที่ครอบคลุม ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สามารถอ้างอิงได้เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผน การบริหารจัดการศึกษา การติดตาม ประเมิน และรายงานผล

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
5.1 เสริมสร้างให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญาของท้องถิ่น  และนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ
5.2 ส่งเสริมสถานศึกษาพัฒนาหลักสูตร แหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และนำแนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ
5.3 ส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
5.4 ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมให้แก่ผู้เรียนทุกช่วงวัย
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
1. ผู้เรียนในทุกช่วงวัยมีทักษะชีวิต สามารถดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รักและภูมิใจในท้องถิ่นของตน
2. ผู้เรียนในทุกช่วงวัยมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรมและจริยธรรม
ตัวชี้วัด
1. ร้อยละของผู้เรียนทุกช่วงวัยมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญาของท้องถิ่น  และประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต
2. ร้อยละของสถานศึกษาที่พัฒนาหลักสูตร แหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
3. ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม 
4. ร้อยละของสถานศึกษาที่นำแนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ
5. จำนวนงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
6. ร้อยละสถานศึกษาที่จัดกิจกรรมสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น
7. ร้อยละของสถานศึกษาที่มีการจัดกิจกรรมในการปลูกฝังจิตสำนึกด้านความสะอาดของสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา
6.1 พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามหลักธรรมาภิบาล
6.2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนจังหวัดลำปาง
6.3 พัฒนาระบบงานบริหารงานบุคคลของครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา 
6.4 พัฒนาระบบนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
1. ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา สามารถบูรณาการการจัดการศึกษาร่วมกันเพื่อสร้างชุมชนแห่งเรียนรู้ สืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ส่งเสริมคนดี มีวินัย และรักษ์สิ่งแวดล้อม
2. หน่วยงานการศึกษาและหน่วยงานที่จัดการศึกษามีการบริหารงานตามหลักธรรมมาภิบาล
3. ระบบบริหารงานบุคคลมีความเป็นธรรม และสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน
4. ระบบนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด
1. ร้อยละของสถานศึกษาที่มีระบบบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามหลักธรรมาภิบาล
2. ร้อยละของสถานศึกษาที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษา
3. ร้อยละของสถานศึกษาที่บริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล
4. จำนวนเครือข่ายการศึกษาที่มีศักยภาพและความพร้อมในการส่งเสริมสนับสนุนในการจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนจังหวัดลำปาง
5. จำนวนองค์กร สมาคม มูลนิธิหรือหน่วยงานอื่นที่เข้ามาจัดการศึกษาหรือร่วมมือกับสถานศึกษาทั้งของรัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้น
6. หน่วยงานการศึกษามีระบบสรรหาและแต่งตั้งผู้บริหารสถานศึกษา ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาตามหลักเกณฑ์ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และความสำเร็จในวิชาชีพ
7. ร้อยละของสถานศึกษาที่มีครูเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน
8. ร้อยละของครู/ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน/ผู้ประกอบการที่ปฏิบัติงานสนับสนุนการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น
9. ร้อยละของสถานศึกษาที่มีระบบนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ